วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายและการจำแนกไม้ประดับ

ไม้ประดับโดยทั่วไปแล้วหมายถึงพันธุ์ไม้ที่มีความสวยงาม ผู้ปลูก ปลูกด้วยจุดประสงค์เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในแง่การประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน

ที่อยู่อาศัยสถานที่ทำงานเป็นหลักสำคัญ ให้ผู้ปลูกและผู้ได้สัมผัสและพบเห็นมีความสุขกายสุขใจ

ในด้านความสวยงามของพันธุ์ไม้ประดับ เนื่องจากส่วนต่างๆของพืชประกอบไปด้วย ราก ลำต้น ใบ ดอก และ ผล ดังนั้นที่กล่าวว่าพันธุ์ไม้

ประดับจะต้องมีความสวยงาม อาจมีผู้สงสัยว่าแล้วจะให้ส่วนไหนเป็นหลักในการพิจารณาว่างาม จึงมีการจำแนกไม้ประดับออกเป็นประเภทต่างๆ

ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์

1.1 ไม้ดอกประดับ คือพันธุ์ไม้ที่มีดอกสวยงาม ดอกสีสวยสดใส ดอกบานพร้อมกันกระจายทั่วต้น และต่างจากไม้ตัดดอกตรงที่ไม้ดอกประดับ

ดอกจะไม่คงทนเพราะมีก้านดอกเล็กจึงตัดดอกออกจากต้นมาเก็บรักษาใช้งานไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ เฟื่องฟ้า พวงชมพู ผักบุ้งฝรั่ง สายหยุด เวอร์บีน่า ซัลเวีย ตะแบก หางนกยูง เป็นต้น

1.2 ไม้ใบ คือพันธุ์ไม้ที่มีใบสวยงาม รูปทรง สีสัน ผิวของใบ สวยงามสะดุดตา ไม่เน้นดอก ดอกอาจสวยด้วยหรือไม่สวยเลยก็ได้ ตัวอย่าง

เช่น โกสน บอนสี หมากผู้หมากเมีย เล็บครุฑ แสงจันทร์ ไอวี้ พลูด่าง เป็นต้น

1.3 ไม้ดัด-ไม้แคระ กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย พวกที่มีลำต้นสวยงาม หรือสวยทั้งดอก ใบ ลำต้น แต่ที่สำคัญเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืน เพราะต้อง

ใช้เวลาในการปลูกเลี้ยงเพื่อดัดให้คงรูปทรงตามต้องการได้ เช่นสน ชวนชม ตะโก มะสัง ไทร เป็นต้น

1.4 ไม้ผลประดับ คือพันธุ์ไม้ที่มีผลสวยงามปลูกเพื่อดูความสวยงามของผล ผลจะทานได้หรือไม่ได้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เช่น ส้มจี๊ด

มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ หรือหนามแดง [มีผลสีแดงใสเมื่อสุกสีดำ ดูในรูปตัวอย่างหน้าต่อไป ] และในปัจจุบันนี้ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ผักพวก

ฟัก แฟง บวบ นำ้เต้า ฟักทอง มีรูปร่างสีสันแปลงๆสวยงามปลูกเป็นไม้ประดับได้

* แต่บางตำรา จัดไม้ดัดไม้แคระไว้ในกลุ่มไม้ใบและไม่มีกลุ่มไม้ผล วงการไม้ประดับมีการเคลื่อนไหวก้าวหน้าอยู่เสมอประเภทของไม้

ประดับก็จะมีเพิ่มขึ้นได้ ตอนนี้อาจจะมีผู้จัดประเภทไม้รากสวยงามแล้วก็ได้เช่นม่านบาหลี

2. จำแนกตามลักษณะลำต้นและการเจริญเติบโต ได้แก่

2.1 ไม้คลุมดิน คือไม้ประดับที่มีลำต้นเตี้นเจริญเติบโตไปตามผิวดิน ใช้ปลูกเพิ่อปิดหน้าดินให้เรียบร้อยและเพื่มสีสรรสวยงามในการจัด

สวน เช่น ดาดตะกั่ว หนวดปลาดุก โคลงเคลง ผักเป็ด

2.2 ไม้พุ่ม คือไม้ประดับที่มีการเจริญแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มมีทั้งไม้ดอกและไม้ใบมีความสูงตั้งแต่ 1-3 ฟุต เช่น เข็ม โกสน เล็บครุฑ

โมก ชบา เป็นต้น

2.3 ไม้ยืนต้น คือไม้ประดับที่มีลำต้นสูง อาจแตกกิ่งก้านสาขาหรือไม่ก็ได้ อาจแตกกอหรือเป็นลำต้นเดี่ยว เช่น ปาล์มต่างๆ หมาก

แสงจันทร์ ตะแบก เหลืองปรีดิยาธร

2.4 ไม้เลื้อย คือไม้ประดับที่มีโครงสร้างของลำต้นขนาดเล็กแต่แตกกิ่งก้านมากมายจึงไม่สามารถทรงตัวอยู่เองตามลำพังได้ต้องอาศัย

สิ่งยึดเกาะ เช่น เล็บมือนาง ไก่ฟ้า พวงชมพู ม่านบาหลี เป็นต้น

3. จำแนกตามความต้องการสภาพแวดล้อมแสงแดด และความชื้น

3.1 ไม้กลางแจ้ง หมายถึงพันธุ์ไม้ที่ต้องการแสงแดดตลอดวันในการเจรฺิญเติบโต เหมาะที่จะใช้ปลูกประดับโดยการจัดสวนนอกอาคาร

3.2 ไม้ในร่ม หมายถึงพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องการแสงจัดหรือไม้ต้องการถูกแสงแดดโดยตรงในการเจริญเติบโต จึงควรใช้งานด้วยการปลูกเป็น

ไม้กระถางตั้งประดับภายในอาคาร หรือจัดสวนภายในอาคารในที่ร่มรำไร

3.3 ไม้นำ้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องการนำ้มาก คือต้องปลูกในนำ้กันเลย เช่น บัว กก สันตวา เป็นต้น

3.4 ไม้ทนแล้ง จะมีลักษณะเป็นไม้อวบนำ้ มีนำ้สะสมอยู่ในลำ้ต้นมากถ้าได้รับนำ้เข้าไปอีกอาจเน่าได้เพราะเกินความต้องการ เช่น

แคคตัส หริอ กระบองเพชร

3.5 ไม้ต้องการความชื้นสูง ไม่ต้องการนำ้แช่ขังแต่ต้องการความชื้น เช่น เฟิร์น บอนสี เป็นต้น

3.6 ไม้ที่ต้องการความชื้นปานกลาง ได้แก่ต้นไม้ส่วนใหญ่โดยทั่วไปที่เราปลูกเลี้ยงรดนำ้วันละครั้งก็พอถ้าอากาศไม่แห้ง และร้อนจนเกินไป



*ไม้ประดับหนึ่งชนิดจะจัดเข้าเป็นประเภทต่างๆได้หลายประเภท ตัวอย่างเช่น แสงจันทร์ จัดเป็นไม้ประดับประเภทไม้ใบ ยืนต้น เป็นไม้

กลางแจ้งต้องการความชื้นปานกลาง เล็บมือนางจัดเป็นไม้ประดับประเภทไม้ดอกประดับ ไม้เลื้อย กลางแจ้งความชื้นปานกลาง เป็นต้น